พระพุทธศาสนสุภาษิต

๒๒ . วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

๓๙๘. หทยสฺส สทิสี วาจา.
วาจาเช่นเดียวกับใจ .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๓๘.

๓๙๙ . โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๘.

๔๐๐ . มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๘.

๔๐๑ . ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
คนโกรธมีวาจาหยาบ .
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๗๓.

๔๐๒. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๕.

๔๐๓ . สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
นัย - ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๗๘.

๔๐๔ . วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
ควรเปล่งวาจางาม .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๐.

๔๐๕ . สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์ .
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๐.

๔๐๖ . ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน .
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๑๑.

๔๐๗ . มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๐.

๔๐๘ . นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๐.

๔๐๙. วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๐. ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๒๓. ขุ. มหา. ๒๙/ ๖๒๒.

๔๑๐ . น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย .
ขุ . ชา. ๒๗/ ๒๘.

กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย
การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒๘.

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ปเร จ น วิหึเสยฺย สา เว วาจา สุภาสิตา.
บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น, วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต.
( วงฺคีสเถร) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๑๑.

นาติเวลํ ปภาเสยฺย น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา
อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ ปตฺเต กาเล อุทีริเย.
ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป
เมื่อถึงเวลา ก็ควรพูด พอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๘.

ปิยวาจเมว ภาเสยฺย ยา วาจา ปฏินนฺทิตา
ยํ อนาทาย ปาปานิ ปเรสํ ภาสเต ปิยํ.
ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น
เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่นแล้ว กล่าวแต่คำไพเราะ.
( วงฺคีสเถร) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๑๒.

ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส กุธารี ชายเต มุเข
ยาย ฉินฺทติ อตฺตานํ พาโล ทุพฺภาสิตํ ภณํ.
คนที่เกิดมา มีผึ่งเกิดอยู่ในปาก คนโง่กล่าวคำไม่ดี
ก็ชื่อว่าเอาผึ่งถากตัวเอง.
( พุทฺธ) องฺ. ทสก. ๒๔/ ๑๘๕.

ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท ยํ น กยิรา น ตํ วเท
อกโรนฺตํ ภาสมานํ ปริชานนฺติ ปณิฑิตา.
บุคคลทำสิ่งใด ควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ไม่ควรพูดสิ่งนั้น,
บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด.
( หาริตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๐๙.

โย อตฺตเหตุ ปรเหตุ ธนเหตุ จ โย นโร
สกฺขิปุฏฺโฐ มุสา พฺรูติ ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
คนใด ถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ เพราะตนก็ดี
เพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๐.

โย นินฺทิยํ ปสํสติ ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลึ กลินา เตน สุขํ น วินฺทติ.
ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ,
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น.
( พุทธฺ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๔.

สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.
ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความซึ่งเป็นประโยชน์แม้ตั้งพัน ,
ข้อความที่เป็นประโยชน์บทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐ กว่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๘.

อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใคร ๆ ขัดใจ
ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง,
เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๗๐.

อกฺโกธโน อสนฺตาสี อวิกตฺถี อกุกฺกุจฺโจ
มนฺตาภาณี อนุทฺธโต ส เว วาจายโต มุนิ.
ผู้ใด ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา
ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่า เป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๐. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๕๗.

อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ ยตฺถ พาลา ปภาสเร;
พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนติ ยตฺถ ธรีรา ปภาสเร.
คนเขลา ย่อมกล่าวในเรื่องใด ไม่ถูกผูกก็ติดในเรื่องนั้น,
คนฉลาดย่อมกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั้น.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๓๙.

ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ
โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ.
ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น
หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน
แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ.
( มโหสธโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/ ๔๒๗.

ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา
ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา.
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย
เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดทุกข์,
พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย.
( วงฺคีสเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๓๔.

สจฺจํ เว อมตา วาจา เอส ธมฺโธ สนนฺตโน
สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์
ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
( วงฺคีสเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๓๔.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค