พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑๕ . ปาปวรรค คือ หมวดบาป

๒๗๖. มาลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.

บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๗.

๒๗๗ . ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๐.

๒๗๘ . ปาปานํ อกรณํ สุขํ.
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๙.

๒๗๙ . ปาปํ ปาเปน สุกรํ.
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย .
วิ . จุล. ๗/ ๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๖๘.

๒๘๐ . ปาเป น รมตี สุจิ.
คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว .
วิ . มหา. ๕/ ๓๔. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๖๖.

๒๘๑ . สกมฺมุนา หญฺ ติ ปาปธมฺโม.
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
ม . ม. ๑๓๔๑๓. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๙.

๒๘๒ . ตปสา ปชหนฺติ ปาปกมฺมํ.

สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ.
ขุ . ชา. อฏฺฐก. ๒๗/ ๒๔๕.

๒๘๓ . ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมหา.
คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๓. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/ ๓๘๐.

๒๘๔ . นฺตถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๑.

๒๘๕ . ธมฺมํ เม ภณมานสฺส น ปาปมุปลิมฺปติ.
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
ขุ . ชา. สตฺตก ๒๗/ ๒๒๔.

๒๘๖ . นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน.
คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
นัย . ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๘. นัย. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๔๓.

๒๘๗ . ปาปานิ ปริวชฺชเย.
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๑.

๒๘๘ . น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ.
ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน .
นัย - ขุ. ชา. นวก. ๒๗/ ๒๖๒.

อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน.
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก
ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง, เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน
จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๗.

 อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด ,
คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๑.

เอกํ ธมฺมํ อดีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาปํ อการิยํ.
คนพูดเท็จ ล่วงสัตย์ธรรมเสียอย่างหนึ่ง
ไม่คำนึงถึงโลกหน้าจะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๘.

หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ สชฺชุขีรํว มุจฺจติ
ฑหนฺตํ พาลมนฺเวติ ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก.
บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนนมสด
ที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๔.

 ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้า
ฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด , บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๑.

โย จ สเมติ ปาปานิ อณุํถูลานิ สพฺพโส
สมิตตฺตา หิ ปาปานํ สมโณติ ปวุจฺจติ.
ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง
ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๐.

วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหาทฺธโน
วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย.
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิต เว้นยาพิษเสีย ฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๑.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค