๒๑ . ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๓๕๑. ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ.
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น.
สํ . ส. ๑๕/ ๕๗.
๓๕๒ . ราชา มุขํ มนุสฺสานํ.
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน.
วิ . มหา. ๕/ ๑๒๔. ม. ม. ๑๓/ ๕๕๖. ขุ. ส. ๒๕/ ๔๔๖.
๓๙๓ . สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก.
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข.
องฺ . จตุตก. ๒๑/ ๙๙. ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๕๒.
๓๙๔ . กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต.
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา.
ขุ . ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๘๗.
๓๙๕ . สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ.
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า.
สํ . นิ. ๑๖/ ๓๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๗.
๓๙๖ . ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน.
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล.
ที . ปาฏิ. ๑๑/ ๑๐๗. ม. ม. ๑๓/ ๓๒. สํ. ส. ๑๕/ ๒๒๕. สํ. นิ. ๑๖/ ๓๓๑.
|