๒ . อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท.
๒๙ . อปฺปมาโท อมตํปทํ.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/ ๕๒๔.
๓๐ . อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ.
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
ม . ม. ๑๓/ ๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/ ๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๙๐.
๓๑ . อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท .
สํ . ส. ๑๕/ ๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/ ๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๔๒.
๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๘.
๓๓ . อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/ ๕๒๔.
๓๔ . อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ม . ม. ๑๓/ ๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/ ๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๙๐.
๓๕ . อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/ ๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๔๒.
๓๖ . อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม .
ที . มหา. ๑๐/ ๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/ ๒๓๑.
๓๗ . อปฺปมาทรตา โหถ.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๘.
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุตฺเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส.
คนมีปัญญาดี ไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท
มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้ง ( คนโง่)
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘, ๑๙.
อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.
ยศย่อมเจริญ แก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด
ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘.
มา ปมาทมนุญฺเชก มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ ปรมํ สุขํ.
อย่ามัวแต่ประมาท อย่ามัวแต่สนิทชิดชอบในกาม
เพราะผู้ไม่ประมาท พิจารณาอยู่ ย่อมถึงบรมสุข.
( พุทธ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๖.
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
( พุทฺธ ) ที. มหา ๑๐/ ๑๔๒.
อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.
ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท
คอยรักษาจิตของตน, จงถอนตนขึ้นจากหล่ม
เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้นฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๘.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพือจะเสื่อม ( ชื่อว่า ) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.
เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.
ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้
พึงละชาติ ชรา โสกะปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๕. ขุ. จู. ๓๐/ ๙๒.
อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สฺเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.
คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘.
|