๑๓ . ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๒๔๗. นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี.
สํ . ส. ๑๕/ ๙.
๒๔๘ . ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.
๒๔๙ . โยคา เว ชายตี ภูริ.
ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.
๒๕๐ . อโยคา ภูริสงฺขโย.
ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.
๒๕๑ . สุโข ปญฺญปฏิลาโภ.
ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๙.
๒๕๒ . ปญฺญา นรานํ รตนํ.
ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๐.
๒๕๓. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย.
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.
นัย - ม. ม. ๑๓/ ๔๑๓. นัย- ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๙.
๒๕๔ . นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.
ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๖๕.
๒๕๖ . ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต.
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๖๕.
๒๕๗ . ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.
๒๕๘ . สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.
ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๑.
๒๕๙ . ปญฺญายตฺถํ วิสฺสติ.
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา .
องฺ . สตฺตก. ๒๓/ ๓.
๒๖๐. ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ.
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๖๑.
๒๖๑ . ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ.
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๕๔๑.
๒๖๒ . ปญฺญาชิวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐสุด.
สํ . ส. ๑๕/ ๕๘, ๓๑๕. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๐.
๒๖๓ . เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถิ.
ผู้มีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๒.
๒๖๔ . พหูนํ วต อตฺถาย สปฺปญฺโญ ฆรมาวสํ.
ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๔๙.
๒๖๕ . สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา.
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา .
นัย . ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๗๘.
๒๖๖. ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.
๒๖๗ . ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย.
ไม่ควรประมาทปัญญา .
ม . อุป. ๑๔/ ๔๓๖.
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิวทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่
อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๕.
ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเกน วิตฺตวาปิ น ชีวติ.
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้,
แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
( มหากปฺปินเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๐.
ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวสตึ วเส.
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน
รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๙.
ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ ค
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ.
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์
ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไปตามผู้มี ปัญญา.
( สภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๑.
มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ.
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๓.
ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ.
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น.
( หตฺถาจริย) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๔๐.
ยาวเทว อนตฺถาย ตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ.
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย,
มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๔.
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.
อทฺธา หิ ปญฺญา ว สตํ ปสตฺถา กนฺตา สิรี โภครตา มนุสฺสา
ณาณญฺจ พุทฺธานมตุลฺยรูปํ ปญฺญํ น อจฺเจติ สิรี กทาจิ.
สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้ คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ
จึงใคร่ได้สิริ ( ยศ ) ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้
ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
( ปโหสธโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๒๘.
คมฺภีรปญฺหํ มนสาภิจินฺตยํ นจฺจาหิตํ กมฺม กโรติ ลุทฺทํ
กาเลคตํ อตฺถปทํ น ริญฺจติ ตถาวิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ.
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่ว
อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์
ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา.
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๐.
ทาโส ว ปญฺญสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ
ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล.
คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา,
เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน
คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น.
( มโหสธโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๒๘.
ส ปญฺญวา กามคเณ อเวกฺขติ อนิจฺจโต ทุกฺขโต โรคโต จ
เอวํ วิปสฺสี ปชหาติ ฉนฺทํ ทุกฺเขสุ กาเมสุ มหพฺภเยสุ.
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และเป็นโค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม
อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้.
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๒.
|