พระพุทธศาสนสุภาษิต

๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต

๑๑๗ . จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
ม . มู. ๑๒/ ๖๔.

๑๑๘ . จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้.
ม . มู. ๑๒/ ๖๔.

๑๑๙ . จิตฺเตน นียติ โลโก.
โลกอันจิตย่อมนำไป .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๔.

๑๒๐ . จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
การฝึกจิตเป็นความดี .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๑. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๒ . จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๓ . วิหญฺ ตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๙๐.

๑๒๔ . จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง .
ที . มหา. ๑๐/ ๒๘๘.

๑๒๕ . สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน .
นัย - องฺ. ทสก. ๒๔/ ๑๐๐.

๑๒๖ . เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
พึงรักษาจิตของตน . เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๑.

๑๒๗ . สจิตฺตมนุรกฺขถ.
จงตามรักษาจิตของตน.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๘.

๑๒๘ . จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๙.

๑๒๙ . ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๐.

อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ.
เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

อปฺปมาณํ หิตํ จิตฺตํ ปริปุณฺณํ สุภาวิตํ
ยํ ปมาณํ กตํ กมฺมํ น ตํ ตตฺราวสิสฺสติ.
จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้,
กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น.
( อรกโพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๕๙.

อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา
กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ.
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว.
( สารีปุตฺต) ขุ. ปฏฺ. ๓๑/ ๒๕๐.

อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา
กาโยปิ อนิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อนิญฺชิตํ.
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว,
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว.
( สารีปุตฺต) ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๕๐.

ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร.
โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน,
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำเขาให้เสียหายยิ่งกว่านั้น.
( พุทฺธํ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง
มีถ้ำ( คือกาย) เป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผู้ของมารได้.
ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙, ๒๐.

ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ  าตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้,
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

 ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ.
คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ.
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด ,
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๖.

โย จ สทฺทปฺปริตฺตาสี วเน วาตมิโต ยถา
ลหุจิตฺโตติ ตํ อาหุ นาสฺส สมฺปชฺชเต วตํ.
ผู้ใด มักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า,
ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ.
( อญฺญตฺรภิกฺขุ) สํ. ส. ๑๕/ ๒๙๖.

 วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺกโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว.
จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร
ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

สญฺญาย วิปรีเยสา จิตฺตนฺเต ปริฑยฺหติ
นิมิตฺตํ ปริวชฺเชหิ สุภํ ราคูปสญฺหิตํ.
จิตของท่านย่อมเดือดร้อน เพราะเข้าใจผิด,
ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก.
( อานนฺท) สํ. ส. ๑๕/ ๒๗๗.

เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด,
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๕.

อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว
มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา.
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้
ไม่พึงยับยั้งอยู่.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๐.

จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป,
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๕๔.

ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา ลูขํ ตปํ วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต.
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ
อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี, จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้.
เขามีตนเลว จะถึงฝั่งไม่ได้.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๔๐

 ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่
เป็นความดี, ( เพราะว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
( นทีเทวตา ) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/ ๑๒๐.

ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต อากงฺเข เว หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส  ตฺวา อุทยพฺพยญฺจ สุเจตโส อนิสฺสิโต ตทานิสํโส.
ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่ง
โลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์
พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
( เทวปุตฺต ) สํ. ส. ๑๔/ ๗๓.

 โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ.
คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๑๘.

สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก
ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่,
( เพราะว่า ) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค